Study Tips
สำหรับการเรียนในต่างแดน น้อง ๆ ทุกคนจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างระเบียบวินัยในการเข้าเรียนและในการอ่านหนังสือทบทวนบทรียนให้กับตนเอง โดยข้อมูลทางด้านล่างนี้เป็นการนำเสนอ Tips ข้อแนะนำดี ๆ สำหรับการพัฒนาการเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนะคะ โดยสามารถแบ่งเป็นหัวข้อหลัก ๆ ดังนี้ค่ะ
1. Organize Your Study Time:
(การจัดเวลาในการเข้าเรียนและการอ่านหนังสือ)
(การจัดเวลาในการเข้าเรียนและการอ่านหนังสือ)
- สร้าง Study Plan ขึ้นมา และตั้งเป้าหมายในการเรียนของน้อง ๆ ขึ้นมาว่าแต่ละเทอมเรียนวิชาใดบ้าง ในแต่ละอาทิตย์เป้าหมายของน้องคืออะไร สร้างแพลนการอ่านว่าวันใดจะอ่านทบทวนวิชาใด โดยทำให้เป็นกิจวัตร (Routine) และเป็นนิสัย (Habits) ที่ดี
- การใช้ปฏิทินในการจัดระเบียบการเรียน โดยน้อง ๆ สามารถหาปฏิทินมาซักอัน ไม่ว่าจะเป็นปฏิทินแบบเป็นแผ่นกระดาษ ใช้ Application ปฏิทินผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ โดยแนะนำว่าให้ลองวิธีที่น้อง ๆ ถนัดและสะดวกต่อการใช้งานของน้องมากที่สุด
- วางแผนการเรียนของตัวเอง กำหนดระยะเวลาขึ้นมาในแต่ละอาทิตย์ และเขียนกิจกรรมที่น้อง ๆ ต้องทำทั้งหมดลงในปฏิทิน โดยตารางของน้อง ๆ ควรจะประกอบไปด้วยเวลาในคลาสเรียน การพักทานอาหาร การออกกำลังกาย การทบทวนการเรียน การออกไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อน ๆ หรือกิจกรรมส่วนตัวของน้อง ๆ เอง
- สร้างตารางการเรียนของน้อง ๆ ให้ดูเหมาะสม (Manage Study-Life Balance) โดยควรหลีกเลี่ยงการลงตารางเวลาการเรียนหรือทบทวนการเรียนที่นานเกินไปในแต่ละวัน เพราะจะทำให้น้อง ๆ อาจรู้สึกกดดันจนเกินไป
- เรียงลำดับความสำคัญของการทบทวนการเรียนของน้อง ๆ (Set Priorities) โดยแนะนำให้เริ่มจากการอ่านวิชาที่ยากที่สุดก่อน เพื่อที่น้อง ๆ จะได้ไม่รู้สึกล้าและกดดันจนเกินไป จากนั้นจึงอ่านวิชาที่ง่ายขึ้นตามลำดับ
2. Create Favourable Study Conditions:
(การเลือกบริเวณอ่านหนังสือที่เหมาะสม)
(การเลือกบริเวณอ่านหนังสือที่เหมาะสม)
- การเลือกสถานที่ที่จะทบทวนการเรียนที่สงบเงียบ สะอาด จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถโฟกัสกับการทบทวนการเรียนได้อย่างเต็มที่ เช่น การอ่านหนังสือที่หัองสมุด หรือการอ่านหนังสือที่บ้านของตนเอง
- น้อง ๆ ควรตรวจเช็คให้แน่ใจแล้วว่าได้นำสิ่งของที่จำเป็นต่อการเรียนมาพร้อมทุกอย่าง เช่น หนังสือเรียน สมุดโน้ต ปากกา ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด ลิควิดเปเปอร์, Highlighters Post-it Notes Laptops เป็นต้น
- หากน้อง ๆ นำโทรศัพท์ของท่าน หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตัวไปด้วยแนะนำให้ปิดเสียงหรือปิดเครื่องก่อนเพื่อให้ท่านสามารถโฟกัสกับการเรียนของท่านได้อย่างเต็มที่
- ท่านควรจัดบริเวณอ่านหนังสือภายในบ้านให้มีความสะอาด มีทีเก็บหนังสือและอุปกรณ์การเรียนอย่างเรียบร้อย และ มีแสงสว่างที่เพียงพอ หากแสงสว่างไม่พอ แนะนำให้ซื้อโคมไฟแบบ LED Light เพื่อให้แสงนวลและไม่ทำลายสายตา
3. Generate a Positive Attitude:
(สร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียน)
(สร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียน)
- การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียน สามารถทำได้โดยสามารถเริ่มดูว่าจุดแข็งอะไรบ้าง สิ่งใดที่ท่านทำได้ดี และท่านมีความรู้พื้นฐานอะไรมาบ้าง
- ฝึกตั้งคำถามในการเรียนว่าท่านทำไปเพื่ออะไร จุดมุ่งหมายของท่านคืออะไร เพื่อที่ท่านจะได้เป็นผู้เรียนรู้ที่ดีและเพื่อเป็นการสร้างความสนใจในการเรียนของท่านขึ้นมาค่ะ
- ให้รางวัลกับตัวท่านเองหลังจากเสร็จสิ้นการทบทวนการเรียนของท่านในแต่ละวัน โดยการพักผ่อน ออกไปทานอาหารอร่อยๆ เดินเล่น หรือฟังเพลงค่ะ
- ท่านควรแบ่งเวลาระหว่างการอ่านหนังสือด้วยตนเอง และ การอ่านเป็นกลุ่ม (Study Groups) โดยท่านอาจจะชักชวนเพื่อนๆรวมกลุ่มเพื่อทบทวนการเรียนไปด้วยกัน แต่ท่านต้องสร้างความแน่ใจก่อนว่าสมาชิกในกลุ่มนั้นจะสร้างประโยชน์ร่วมกันกับท่าน และสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ค่ะ
4. Develop Good Study Techniques:
(การสร้างเทคนิคในการเรียนหรือนำเทคนิดต่างๆมาใช้)
(การสร้างเทคนิคในการเรียนหรือนำเทคนิดต่างๆมาใช้)
- ท่านสามารถใช้เทคนิค SQR3 สำหรับการอ่านหนังสือที่เป็นเนื้อหายาวๆ โดยเทคนิคนี้จะประกอบไปด้วย:
- S (Survey) คือ การอ่านแบบสำรวจเป็นการอ่านผ่านๆ อย่างรวดเร็วตั้งแต่ดูชื่อหนังสือ ชื่อ ผู้แต่ง หน้าปกใน ดูจุดมุ่งหมายของผู้แต่งว่าคืออะไร สำรวจทั้งส่วนหน้าและหลังของหนังสือ บทสรุปแบบฝึกหัด คำบรรยายใต้ภาพ กราฟต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้นสำรวจเนื้อหาแต่ละบทอย่างรวดเร็ว
- Q (Question) คือ การตั้งคำถามถามตัวท่านเองไว้ในใจ จากเนื้อเรื่องที่อ่าน เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ฯลฯ เพื่อความเข้าใจเนื้อเรื่องดียิ่งขึ้น
- R1 (Read) เป็นอ่านเพื่อตอบคำถามที่ตนเองอยากรู้ ที่ได้ตั้งคำถามไว้ในใจแล้ว ดังนั้นควรจะต้องอ่านให้ละเอียด โดยอาจจะทำเครื่องหมาย ระบายสีหรือขีดเส้นใต้ หรือบันทึกไว้ ข้างๆหน้ากระดาษ (หากเป็นหนังสือ/ตำราของท่านเอง)
- R2 (Recite) คือ การจดจำ เมื่อเข้าใจได้คำตอบจากหนังสือแล้วควรพยายามจดจำเนื้อหาข้อความที่สำคัญไว้ซึ่งเป็นหัวใจของการเรียนรู้ โดยการทำบันทึกย่อใส่สมุดไว้หรือขีดเส้นใต้ หรือจด ( List) หัวข้อทั้งหมดไว้ แล้วสรุปออกมาเป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่าย เพื่อทำความเข้าใจและจดจำเนื้อหาได้ง่ายขึ้นท่านอาจใช้ การเทคนิคในการจำที่ทำให้จำง่ายๆ เช่น วาดรูป หรือ mind map เป็นต้น
- R3 (Review, Reconstruct) ทบทวนจากการอ่านบันทึกย่อที่บันทึกไว้หรือจากเครื่อง หมายต่างๆ ที่ทำไว้ในหนังสือ จากข้อความที่เขียนไว้ข้างหน้ากระดาษและจากหัวข้อที่จดไว้ โดยการทบทวนเป็นครั้งคราวและทบทวนก่อนสอบ
- ท่านสามารถใช้การทบทวนแบบซ้ำๆ เพื่อนเป็นการเพิ่มความสารถในการจดจำได้ค่ะ โดยทบทวนจากการอ่านบทสรุปในชีท และทบทวนแต่ละบทวิชาในแต่ละสัปดาห์ สำหรับบางวิชาที่ต้องใช้การจำมากๆ ท่านอาจทำ flash card ขึ้นมา เพื่อที่ท่านสามารถนำมาหยิบดูบ่อยๆ และสร้างการจดจำที่เพิ่มขึ้นค่ะ
- ท่านอาจใช้การเปรียบเทียบ หรือความคล้ายคลึงกันของแต่ละวิชา เพื่อสร้างเทคนิคในการจำของท่านขึ้นมา โดยผสมผสานระหว่างความรู้เดิมที่ท่านมี กับความรู้ใหม่จากการอ่านของท่าน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการเรียนวิชานั้นๆของท่านค่ะ
5. Dealing with the 3 Major Study Problems:
(การแก้ปัญหาในการเรียน)
(การแก้ปัญหาในการเรียน)
- Procrastination (การผลัดวันประกันพรุ่ง) สิ่งๆนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากความเหนื่อยล้าของเรา ทำให้การเริ่มต้นที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นล่าช้าโดยการผลัดออกไปก่อนและคิดว่าค่อยกลับมาทำทีหลัง วิธีที่จะกำจัดตัวการนี้ออกไปนั้นคือ การเริ่มต้นให้เร็วขึ้น (Speed up) ท่านอาจสร้างความสนใจให้กับวิชาที่ท่านเรียน โดยการพลิกอ่านหนังสือในแต่ละบทแบบผ่านๆก่อนที่จะทบทวนหรือเรียนอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ท่านเกิดความต้องการเรียนรู้เนื้อหาของแต่ละบทในวิชานั้น เพราะในบางครั้งเมื่อท่านลองพลิกอ่านไปเรื่อยๆ ท่านอาจจะเจอส่วนที่ท่านให้ความสนใจ แต่ก่อนที่จะถึงส่วนนั้น ท่านอาจจะต้องลองอ่านบทอื่นๆ เพื่อสร้างความเข้าใจว่า เหตุใดส่วนๆนั้นจึงเกิดขึ้น และมีที่มาอย่างไรค่ะ
- Concentration (การสร้างสมาธิและโฟกัสการการเรียน) การโฟกัสกับการเรียนสามารถฝึกง่ายๆโดยการฝึกเป็นครูโดยการหยิบกระดาษและปากกาออกมาซักชุด ลองตั้งคำถามกับตัวท่านเองว่า สิ่งที่อยู่ในวิชานั้นคืออะไร และให้อะไรกับตัวท่านบ้าง ท่านอาจจะลองจินตนาการดูว่า มีผู้เขียนหรือครูนั่งอยู่กับท่านในขณะนั้น และท่านลองตั้งคำถามขึ้นมา จินตนาการว่าท่านกำลังจะถามคำถามเหล่านั้นกับพวกเขา แต่ท่านทำด้วยการให้หนังสือนั้นเป็นเหมือนครูที่จะตอบคำถามเหล่านั้นแก่ท่าน วิธีนี้จะช่วยให้ท่านมีความสนใจ และมีจุดมุ่งหมายในการเรียนมากขึ้นค่ะ
- Boredom การจัดการกับความเบื่อหน่ายในการเรียน หรือทบทวนนั้นสามารถทำได้โดยการ ทบทวนเนื้อหาในระยะเวลาสั้นๆ หรือสลับวิชาในการทบทวนบ่อยขึ้น พยายามเขียน 3 Main Ideas หลักๆที่ท่านคิดว่าสำคัญที่สุดลงไปในกระดาษ ในการอ่านทบทวนนั้น ในบางครั้งท่านสามารถอ่านเปล่งเสียงออกมา เพื่อฝึกการออกเสียงในวิชานั้นๆ และพยายามจินตนาการภาพคร่าวๆในใจท่านว่าสิ่งที่ท่านอ่านนั้นเป็นอย่างไร ท่านอาจทำสัญลักษณ์หรือวาดภาพเพื่อสร้างความเข้าใจของท่านให้เพิ่มขึ้นข้างหน้าที่ท่านอ่านก็ช่วยได้เยอะค่ะ
6. Organize your study bags:
(จัดกระเป๋าสำหรับการเรียน)
(จัดกระเป๋าสำหรับการเรียน)
- น้องๆควรจัดกระเป๋าสำหรับการอ่านหนังสืออย่างเรียบร้อย (Study Bag) โดยจัดกระเป๋านักเรียนให้มีอุปกรณ์การเรียน, หนังสือเรียน, ตารางเรียน และ อุปกรณ์อื่นๆที่ใช้เรียนอย่างเรียบร้อยคะ
- สามารถเลือกสะพายกระเป๋าเป้ Backpacks หรือ กระเป๋าสะพายแบบ Messenger Bags ได้ตามสะดวกคะ
- หากกระเป๋าหนักเกิน แนะนำให้น้องๆสะพายเป้พร้อมด้วยถือกระเป๋าแยกสำหรับคอมพิวเตอร์แยกค่ะ เพื่อกระจายน้ำหนัก จะได้ไม่เจ็บหลัง หรือ อาจจะใช้กระเป๋าเป้แบบมีล้อลาก ก็จะสะดวกยิ่งขึ้นค่ะ นักเรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆนิยมมากคะ